How To จัดการรูปภาพและวิดีโอให้มีประสิทธิภาพด้วย Data Labelling

How To จัดการรูปภาพและวิดีโอให้มีประสิทธิภาพด้วย Data Labelling

ไขข้อข้องใจ Data Labelling คืออะไร ช่วยงานให้ราบรื่นได้อย่างไร

เมื่อเรื่องของข้อมูลกลายเป็นเรื่องใหญ่ในปัจจุบัน และด้วยจำนวนอันมหาศาลที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพ วิดีโอ หรือเสียง ที่ไม่ได้มีข้อมูลเป็นตัวอักษร ทำให้จำเป็นต้องมี Data Labelling เข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับเปลี่ยนเพื่อประมวลผลได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี Data Labelling จะเข้ามาทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว

เพื่อให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ Data Labelling ได้ลึกกว่าเดิม วันนี้ Data Wow ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักเกี่ยวกับการระบุประเภทของข้อมูลเพื่อช่วยในการพัฒนาและต่อยอดการทำงาน เพิ่มความแม่นยำ ลดความผิดพลาด และเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล ก่อนที่จะตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีนี้ ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาดูกัน

Data Labelling คืออะไร

Data Labelling คือการระบุประเภทของข้อมูลเพื่อทำการแยกแยะว่าข้อมูลนั้นๆ เป็นโมเดลข้อมูลอะไร โดยจะผู้ใช้งานจะเป็นคนกำหนดรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เอาไว้ เช่น ข้อมูลของรูปคน สัตว์ หรือสิ่งของแต่ละประเภท แล้วให้ระบบเรียนรู้ พร้อมกำหนดการจัดประเภทของข้อมูลนั้นๆ การจัดการ Data Labelling นั้น จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของชิ้นงานในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นความแม่นยำ ความครบถ้วนของข้อมูล ความเป็นเหตุเป็นผล ความตรงต่อเวลา ไม่ซ้ำซ้อน ความถูกต้อง ไปจนถึงเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ ที่เป็นไปอย่างง่ายดาย

Data Labelling แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

Computer Vision

Computer Vision เป็นการระบุประเภทของข้อมูลด้วยการสร้างแบบจำลองการมองเห็น เพื่อให้สามารถแบ่งประเภทของรูปภาพตามประเภทคุณภาพหรือเนื้อหา ซึ่งการสร้างระบบ Computer Vision นั้น จำเป็นจะต้องมีการระบุบนภาพ จุดสำคัญ หรือสร้างเส้นขอบล้อมรอบภาพนั้นๆ เพื่อสร้างชุดข้อมูล เช่น การทำ Image Annotation ที่จะมีการตีกรอบกำหนดประเภทของภาพเอาไว้, การทำ Polygonal Segmentation ที่เป็นการทำกรอบของบนรูปวัตถุที่ไม่ได้เป็นทรงเรขาคณิต, การทำ Semantic Segmentation ที่เป็นการระบุประเภทของข้อมูลแบบพิกเซล ไปจนถึง 3D cuboids ที่เป็นการลากเส้นสามมิติเพื่อระบุประเภทของข้อมูลบนรูปภาพนั้นๆ เป็นต้น

Natural Language Processing

สำหรับการระบุข้อมูลโดย Natural Language Processing หรือการประมวลผลภาษา เป็นการประมวลผลภาษาโดยที่ผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ระบุข้อความนั้นๆ หรือติดป้ายกำกับข้อมูลเหล่านั้นเอาไว้ จากนั้นระบบจะทำการประมวลผล วิเคราะห์ความรู้สึกหรือเจตนาของข้อมูลนั้นๆ เช่น สถานที่ บุคคล ทั้งบนรูปภาพ ไฟล์ PDF หรือไฟล์อื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลหรือจดจำรายละเอียด

Audio Processing

Audio Processing หรือการประมวลเสียง จะเป็นการแปลงเสียงทุกประเภทให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถทำให้ตัวระบบสามารถเรียนรู้ได้ โดยการประมวลเสียงนั้น มักจะต้องการให้ผู้ใช้ถอดเสียงออกเป็นข้อความก่อนที่จะเริ่มการประมวลผล ซึ่งผู้ใช้ก็จะสามารถเพิ่มแท็กและจัดหมวดหมู่เสียง

พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เพื่อลดความยุ่งยากในการทำงานและจัดเก็บข้อมูลจำพวกรูปภาพ คลิปวิดีโอ หรือแม้กระทั่งเสียงก็ตาม เพราะ Data Labelling คือหนึ่งตัวช่วยที่จะเข้ามาทำให้การจัดเก็บข้อมูลจำพวกนี้กลายเป็นเรื่องง่ายและสามารถนำไปต่อยอดได้สะดวกกว่าเดิม เพราะความสามารถในการจดจำส่วนประกอบต่างๆ ของข้อมูลประเภทรูป วิดีโอ หรือเสียง จะช่วยให้ง่ายต่อการจัดการกับข้อมูลนั้นๆ เพื่อเก็บสถิติ นำข้อมูลไปใช้ หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลต่างๆ เอาไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในหลากหลายด้านในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า การตรวจจับการแต่งกายของพนักงานในพื้นที่อันตราย การตรวจจับโรคต่างๆ การประมวลผลของข้อมูล การประมวลผลภาพถ่าย เป็นต้น

หากคุณต้องการที่จะนำ Data Labelling เข้ามาปรับใช้ในการทำงาน สิ่งสำคัญเลยคือการเลือกผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และลดปัญหาต่างๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคต ที่ Data Wow เราคือทีมงานผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญและช่วยทลายขีดจำกัดในการทำงานด้วยเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเพิ่มความแม่นยำ ลดความผิดพลาด และเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นๆ อีกทั้งยังรองรับการทำงานที่หลากหลาย ในอุตสาหกรรมที่แตกต่าง พร้อมด้วย่ทีมงานที่คอยดูแลในด้านการติดตั้งและการใช้งาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคุณโดยเฉพาะ ติดต่อทีมของเราได้ที่นี่ sales@datawow.io หรือโทร: 02-024-5560