Data Lineage คืออะไร? แนวทางการติดตามและจัดการข้อมูลในองค์กร

Apr 18, 2025
Data Catalog คืออะไร? คู่มือจัดการข้อมูลให้เป็นระบบสำหรับองค์กร

ปฏิเสธไม่ได้ข้อมูลกลายเป็นทรัพยากรสำคัญมากที่สุดขององค์กร การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบจึงกลายเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้ข้อมูลนั้นมีความครบถ้วน ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้จริง แต่หลายองค์กรกลับประสบปัญหาข้อมูลกระจัดกระจาย ข้อมูลซ้ำซ้อน หรือไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้การตัดสินใจทางธุรกิจล่าช้า ขาดความแม่นยำ และเสี่ยงต่อการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคล หากองค์กรของคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้การทำ Data Catalog คือทางออกที่จะช่วยจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

Metadata คืออะไร

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Data Catalog มาทำความรู้จักกับ Metadata กันก่อน

Metadata คือ ‘ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล’ หรือการอธิบายข้อมูลในเชิงลึก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจเนื้อหา โครงสร้าง และวัตถุประสงค์ของข้อมูลนั้น ๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถจัดระเบียบและอธิบายข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจและนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น Metadata สามารถนำไปใช้กับข้อมูลในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วิดีโอ ฐานข้อมูล และอื่น ๆ อีกมากมาย

ความหมายของ Data Catalog

Metadata

Data Catalog คือ ระบบหรือแพลตฟอร์มที่รวบรวมและจัดระเบียบข้อมูลทั้งหมดในองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยมีการใส่ Metadata หรือข้อมูลประกอบของข้อมูลแต่ละชุด เช่น แหล่งที่มา เจ้าของข้อมูล รูปแบบข้อมูล หรือกฎการเข้าถึง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหา ทำความเข้าใจ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวง่าย ๆ Data Catalog ทำหน้าที่เหมือนแค็ตตาล็อกของห้องสมุด แต่แทนที่จะรวบรวมหนังสือ ก็เป็นการรวบรวมข้อมูลที่องค์กรมีอยู่ทั้งหมด

ทำให้ Data Catalog กลายเป็นมาตรฐานสำคัญสำหรับการจัดการ Metadata ในองค์กรต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย แตกต่างจาก Metadata แบบเดิมที่มักพบในเครื่องมือ Business Intelligence หรือเครื่องมือจัดการข้อมูลทั่วไป Metadata สมัยใหม่มีความหลากหลายและลึกซึ้งมากขึ้น รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดมากขึ้นด้วย โดย Data Catalog จะเน้นไปที่การจัดระเบียบและรวบรวมทรัพยากรข้อมูล (Data Assets) และผลิตภัณฑ์ข้อมูล เช่น Dashboard, รายงาน, ฐานข้อมูล, ไฟล์ต่าง ๆ ฯลฯ พร้อมเสริม Metadata ที่มีคุณค่าเพื่อช่วยแนะนำและให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Data Catalog ทำอะไรได้บ้าง

ในยุคที่องค์กรมีการจัดเก็บข้อมูลทั้งในระบบภายใน (On-premise) และระบบ Cloud การมีศูนย์กลางในการจัดเก็บ Metadata ด้วย Data Catalog จึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้สามารถมองเห็นข้อมูลทั้งหมดได้อย่างครอบคลุมไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ซึ่งการมองเห็นนี้ส่งผลต่อการวิเคราะห์ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสนับสนุนกระบวนการจัดการข้อมูลที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น

Data lineage

Data lineage คือ กระบวนการติดตามเส้นทางของข้อมูลตั้งแต่แหล่งกำเนิดไปจนถึงจุดปลายทาง พร้อมกับบันทึก Metadata เกี่ยวกับข้อมูลและกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลตลอดเส้นทางนั้น การแสดงผลในรูปแบบภาพช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจและเชื่อถือข้อมูลได้มากขึ้น เช่น การแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบข้อมูลสำคัญตัวหนึ่งถูกนำไปใช้อย่างไรในแต่ละส่วนขององค์กร ด้วย Metadata ที่ครอบคลุมจากการจัดการโดย Data Catalog วิศวกรสามารถวิเคราะห์ผลกระทบ (Impact Analysis) ได้เมื่อต้องวางแผนเปลี่ยนแปลงข้อมูล พร้อมทั้งสื่อสารกับเจ้าของข้อมูลที่ได้รับผลกระทบได้อย่างชัดเจน

Data quality

Data Catalog ช่วยในการประเมินคุณภาพข้อมูล (Data quality) โดยรองรับการกำหนดกฎเกณฑ์คุณภาพ การบันทึก และแสดงผลเมตริกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบว่าข้อมูลที่ตนจะใช้นั้นเชื่อถือได้หรือไม่ก่อนนำไปใช้งานจริง

Data discovery and Search

ความสามารถในการค้นหาขั้นสูงใน Data Catalog รองรับการค้นหาด้วยภาษาธรรมชาติ (Natural Language หรือ Semantic Search), คีย์เวิร์ด, แท็ก และ Metadata ทางธุรกิจอื่น ๆ เช่น โดเมนข้อมูล การค้นหาด้วยภาษาธรรมชาติ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ใช่สายเทคนิค การจัดอันดับผลลัพธ์จากการค้นหา ความถี่ในการใช้งาน และการให้คะแนนหรือการรับรองจากผู้ใช้งานคนอื่น เป็นต้น

AI and Data Governance

Data Catalog มีความสามารถในการจัดประเภทข้อมูลและกำหนดนโยบายที่เหมาะสมเพื่อให้การใช้งานข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและกฎหมาย หนึ่งในประโยชน์ของการผสาน AI เข้ากับ Data Governance ภายใน Data Catalog คือความสามารถในการตรวจสอบความสอดคล้อง (Compliance Audit) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ AI และ Data Governance จะมีจุดร่วมกันหลายอย่าง แต่ทั้งสองแนวทางก็มีจุดโฟกัสที่แตกต่างกันเช่นกัน

บทความเกี่ยวกับ Data Governance: แนะนำ 15 Data Governance Tools เครื่องมือจัดการข้อมูลที่คุณควรรู้

Self-service analytics

Data Catalog สนับสนุนการวิเคราะห์แบบ Self-service โดยการเป็นศูนย์กลางให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหา เข้าใจ เชื่อถือ และใช้งานข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาทีม IT ตลอดเวลา Data Catalog ทำหน้าที่เสมือนตลาดกลางข้อมูลภายในองค์กร (Internal Data Marketplace) ที่ผู้ใช้งานสามารถขอและเข้าถึง Data Product หรือ Data Asset ได้โดยตรง พร้อมรองรับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการปฏิบัติตามข้อบังคับสำหรับข้อมูลที่มีความอ่อนไหว

Data Wow AI&DATA Consultant

สิ่งสำคัญสำหรับการใช้ข้อมูลใน Data Catalog ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1. การกำหนด Metadata ที่มีคุณภาพ: ข้อมูลประกอบ เช่น คำอธิบายข้อมูล หน่วยวัด แหล่งที่มา หรือวันเวลาในการอัปเดต ควรถูกระบุไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจข้อมูลได้ทันทีโดยไม่ต้องสอบถามเพิ่มเติม

2. การมี Data Stewardship: ควรมีผู้รับผิดชอบหลักต่อชุดข้อมูลแต่ละชุด เช่น Data Steward หรือ Data Owner เพื่อดูแลคุณภาพและความครบถ้วนของข้อมูล รวมถึงเป็นจุดอ้างอิงเมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือปรับปรุงข้อมูล

3. การควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล: กำหนดสิทธิ์อย่างเหมาะสมว่าใครสามารถเข้าถึง แก้ไข หรือเผยแพร่ข้อมูลได้ เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต และปกป้องข้อมูลที่มีความอ่อนไหวหรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

4. การบูรณาการกับระบบต่าง ๆ: ควรเชื่อมโยง Data Catalog เข้ากับแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น Data Lake, Data Warehouse, BI Tools, CRM หรือ ERP เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลมาแสดงในที่เดียว และลดภาระการค้นหาจากหลายแหล่ง

5. การอบรมผู้ใช้งานในองค์กร: พนักงานทุกระดับควรได้รับการอบรมเพื่อเข้าใจวิธีการค้นหา เข้าถึง และใช้ข้อมูลใน Data Catalog ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลผิดวิธี และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานจริง

6. การกำหนดมาตรฐานกลางในการจัดเก็บข้อมูล: เช่น การตั้งชื่อฟิลด์ การเลือกหน่วยวัด หรือโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้ทุกคนในองค์กรใช้ภาษาข้อมูลเดียวกัน ป้องกันข้อมูลซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน

7. การติดตามและวิเคราะห์การใช้งาน: ติดตามว่าใครใช้ข้อมูลใดบ่อยแค่ไหน ข้อมูลใดเป็นที่นิยม หรือข้อมูลใดถูกละเลย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้าง Metadata หรือจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลในอนาคตได้อย่างเหมาะสม

ข้อดีของการประยุกต์ใช้ Data Catalog ในองค์กร

- เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล: ลดเวลาในการค้นหาข้อมูล เพิ่มความเร็วในการทำงาน

- ช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นระบบ: ทำให้ข้อมูลถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ และไม่เกิดการทำงานซ้ำซ้อน

- สนับสนุนการทำงานของ Data Scientists และ Analysts: ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ

- เสริมความปลอดภัยของข้อมูล: ด้วยการควบคุมสิทธิ์การเข้าถึงและการติดตามการใช้งานข้อมูล และช่วยให้สอดคล้องกับกฎหมาย เช่น GDPR, PDPA

- ช่วยให้การทำ Data Governance เป็นไปอย่างราบรื่น: ส่งเสริมการกำกับดูแลข้อมูลให้เป็นไปตามนโยบายองค์กร

สรุป Data Catalog

โดยสรุปแล้ว Data Catalog คือ เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ค้นหา ทำความเข้าใจ และใช้งานข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย พร้อมรองรับการเติบโตของข้อมูลในยุคดิจิทัล การลงทุนใน Data Catalog จึงไม่ใช่เพียงเรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง

หากคุณสนใจเรื่อง Data Catalog อยากรู้ว่าองค์กรของคุณควรใช้ Data Catalog หรือไม่? สามารถปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก Data wow ได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560 เราพร้อมดูแลคุณอย่างเต็มที่

CONTACT US

ติดต่อเรา

!
!
!
!
!
!
!
logo
ที่ตั้งบริษัท
7 อาคารซัมเมอร์ พอยท์ ชั้นที่ 2
ซอยสุขุมวิท 69 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย
ติดตามเรา
ISO27001
ISO27701