เมื่อเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในด้านของข้อมูล ที่มีการนำมาใช้งานได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ยิ่งไปกว่านั้น Data ยังสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้ในหลาย ๆ สายงาน ไม่ว่าจะเป็นด้าน Data Processing หรือการประมวลผลข้อมูล Big Data (ปริมาณข้อมูลอันมหาศาล) รวมไปถึงสิ่งที่เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันในวันนี้ นั่นก็คือการจัดเก็บข้อมูลแบบ Data Labeling หรือการระบุประเภทของข้อมูล ซึ่งรูปแบบการทำงานของ Data Labeling นั้นจะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างหลากหลาย (นอกเหนือจากข้อมูลประเภทข้อความ) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลอย่างรูปภาพ วิดีโอ รวมทั้งยังสามารถเก็บข้อมูลประเภทเสียงได้อีกด้วย
list text hereData Labeling คือ การระบุประเภทของข้อมูลให้ชัดเจนว่าเป็นข้อมูลประเภทไหน เช่น ข้อมูลรูปคน สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ แล้วให้ระบบเรียนรู้ พร้อมกำหนดการจัดประเภทของข้อมูลนั้น ๆ โดยที่จำเป็นจะต้องพิจารณาในหลากมิติ ทั้งเรื่องของความแม่นยำ ความครบถ้วนของข้อมูล ความเป็นเหตุเป็นผล ความตรงต่อเวลา ไม่ซ้ำซ้อน ไปจนถึงการเข้าถึงข้อมูลของข้อมูลอย่างง่ายดายนั่นเอง นอกเหนือจากประเภทของ Data Labeling อย่างที่กล่าวไป สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็คือเรื่องของการนำ Data Labeling ไปใช้ เพราะเจ้าข้อมูลตัวนี้จะทำหน้าที่เข้าไปช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือ Data ไว้เป็นจำนวนมาก จึงสามารถนำมาวิเคราะห์และวางแผนข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม การนำ Data เข้ามาใช้จะส่งผลให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่งคง เราจะพาคุณไปดูกันว่าเราจะสามารถนำเทคโนโลยีนี้ ไปใช้ในงานอุตสาหกรรมใดได้บ้าง
อุตสาหกรรมกีฬา ไม่ว่าจะเป็นกีฬาที่ต้องลงสนาม หรือกีฬา e-Sports ก็ตาม การนำ Data Labeling เข้ามาใช้งานนั้นสามารถตอบโจทย์ได้หลากหลายด้าน ทั้งเพื่อการพัฒนาทักษะการเล่นให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงยังสามารถใช้เพื่อการวางแผนเกม คาดเดาว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นในเกมบ้าง ไปจนถึงการศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการเล่นเกมของฝ่ายตรงข้าม เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในเกมนั้น ๆ
สำหรับด้านสถาปัตยกรรมและผังเมือง เราสามารถนำ Data Labeling เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่ต่าง ๆ ว่ามีความเหมาะสมสำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานหรือไม่ รวมถึงเพื่อศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดเพื่อคาดคะเนถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น โดยนำข้อมูลเชิงลึกเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และจัดการในระดับที่ความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งปัญหาเชิงโครงสร้าง และตำแหน่งพื้นที่ เป็นต้น เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกรเป็นไปอย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
หลายครั้งที่การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าด้วยแรงงานคน อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาด และส่งผลเสียหายต่อการทำงาน ถึงขั้นทำให้การผลิตต้องหยุดชะงัก นอกจากนี้ข้อผิดพลาดจากแรงงานคนบางครั้งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยการมองด้วยตาเพียงอย่างเดียว ซึ่งการนำเทคโนโลยี Data Labeling เข้ามาใช้ ก็จะช่วยให้เราสามารถเจอข้อผิดพลาดนั้นได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เกิดประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีมากกว่าเดิม
สำหรับในด้านการประกันภัย ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี Data Labeling เข้ามาใช้งานเพื่อพัฒนาโครงสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลักษณะของรถแต่ละประเภท กันชน ล้อ หรือแม้กระทั่งร่องรอยและลักษณะของการชน หรือวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทประกันสามารถวางแผนและออกแบบแผนประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าและเป็นไปตามข้อกำหนดของบริษัทได้
สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี Data labeling ในการแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจเราขอแนะนำ Accurately แพลตฟอร์มที่ Data Scientist เลือกใช้ สามารถสร้าง Computer Vision Model ได้แบบครบวงจร Annotate-Train-Deploy ทำความรู้จักและทดลองใช้งานฟรีได้เลยที่ Accurately.ai