ในยุคดิจิทัลที่ทุกคนใช้ชีวิตออนไลน์กันอย่างแพร่หลาย คำว่า ‘Digital Footprint’ หรือ ‘รอยเท้าดิจิทัล’ กลายเป็นประเด็นสำคัญที่หลายคนเริ่มตระหนักและให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ได้รับความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทย ร่องรอยของกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ทั้งหมดที่ทำไว้บนโลกออนไลน์ จะสะท้อนตัวตนและบุคลิกของเราในโลกไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลทั้งในแง่บวกและลบต่ออนาคต
การศึกษาว่าและทำความเข้าใจว่า Digital Footprint คืออะไร จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่พลเมืองในยุคทิจิทัลควรให้ความสนใจ เพื่อจัดการกับ Digital Footprint ของตนเองได้อย่างเหมาะสม
Digital Footprint คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่โลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ วีดีโอ การพิมพ์เรื่องราว หรือพิมพ์โต้เถียงกันบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงประวัติและพฤติกรรมการใช้งานบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นประวัติการเข้าชม การกดไลก์ กดแชร์ ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มไหน เว็บไซต์อะไร ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ถูกเก็บ ถูกบันทึกอยู่บนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนข้อมูลเหล่านี้ก็ยังคงอยู่
อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่เจ้าของข้อมูลจำเป็นต้องให้ความสำคัญเพราะสามมารถนำไปใช้เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้และยังคงเป็นโทษหากเราไม่สามารถป้องกันและรู้เท่าทันการใช้งาน
Passive Digital Footprint คือ ข้อมูลที่นำเข้าบนโลกออนไลน์โดยที่เกิดจากผู้ใช้งานไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้มีเจตนาจะบันทึกข้อมูลเหล่านั้นบนอินเตอร์เน็ต เช่น ประวัติการค้นหา การบันทึกที่อยู่ IP Address การอนุญาตเก็บข้อมูลผ่านคุกกี้ ประวัติเข้าชมเว็บไซต์ต่าง ๆ ประวัติการดูโฆษณา รวมถึงช่วงเวลาที่ผู้ใช้งานเข้าใช้อินเทอร์เน็ต เป็นต้น
Active Digital Footprint คือ ข้อมูล ประวัติ รูปภาพ วีดีโอ ที่ตั้งใจเปิดเผยบนโลกออนไลน์อยู่แล้ว เช่น การเล่นโซเชียลมีเดียกับเพื่อน ๆ การพิมพ์ค้นหา การแชร์ภาพ การเล่าเรื่อง ตั้งกระทู้สอบถามในเว็บบอร์ดหรือการส่งอีเมล์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ Digital Footprint คือ สิ่งที่อยู่คู่กับโลกออนไลน์เสมอ ด้วยความสำคัญและการระบุข้อมูลต่าง ๆ ไปถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้ นักการตลาดหลาย ๆ คนจึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเหล่านี้เป็นอย่างมาก เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ แผนการตลาด งบโฆษณาสินค้า เพื่อให้แผนการตลาดมีประสิทธิภาพมากที่สุด อีกทั้งการใช้ข้อมูลอย่างสถิติต่าง ๆ ตั้งแต่ ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ เพศ อายุ รายได้ ไปจนถึงจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ ระยะเวลาที่ใช้งานเว็บไซต์ อัตราการคลิก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้นำปรับปรุง วางแผน ดำเนินการ ไปจนกระทั่งคาดการณ์ผลของแคมเปญบนโลกออนไลน์ได้เลยทีเดียว
ยกตัวอย่างเช่น การทำโฆษณา SEM ที่นักการตลาดคุ้นเคยกันดี โดยการปล่อยโฆษณาไปหาผู้ใช้งานผ่านแพลตฟอร์มอย่างเว็บไซต์ อีเมล์ หรือแม้แต่โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เชื่อมต่อข้อมูลเข้ากับบัญชีการใช้งานเดียวกับเว็บไซต์ หลังจากที่กลุ่มเป้าหมายทำการค้นหาคีย์เวิร์ด เช่น กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา การแสดงผลโฆษณาของแบรนด์นั้นก็จะแสดงอยู่บนช่องทางออนไลน์ของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดีย อีเมล์ หรือเว็บไซต์ข่าว เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการนำข้อมูลพวกนี้ไปทำเป็นแคมเปญการตลาดจำเป็นต้องผ่านทำตามข้อกำหนดที่รู้จักกันในชื่อว่า PDPA หรือพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปพร้อม ๆ กันด้วย
ข้อมูลจาก Digital Footprint สามารถใช้เพื่อสร้างโฆษณาและแคมเปญการตลาดที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ ในการเพิ่มความน่าสนใจ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้มากกว่าเดิม แต่จะต้องเป็นไปตามข้อกฎหมายของ PDPA
ร่องรอยทางดิจิทัลของลูกค้าต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลการใช้งานและความคิดเห็นจากลูกค้าสามารถช่วยให้ธุรกิจปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของลูกค้ามากขึ้น
ข้อมูลจาก Digital Footprint ของลูกค้าและผู้ใช้งาน สามารถนำมาพัฒนาและปรับแต่งระบบการใช้งาน การให้บริการ และอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีที่ต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และยังสามารถนำ Digital Footprint มาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินผล เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
Digital Footprint บนช่องทางต่าง ๆ ที่ก้าวถึงธุรกิจสามารถติดตามผลของแคมเปญการตลาดและกลยุทธ์ต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ และปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้รับ ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุแนวโน้มและความต้องการของลูกค้าใหม่ ๆ และใช้ประโยชน์จากโอกาสในการขยายตลาด
การใช้ Digital Footprint อย่างมีประสิทธิภาพสามารถช่วยธุรกิจในการปรับปรุงการทำงานและการบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเพิ่มโอกาสในการเติบโตในตลาด
สำหรับคนทั่วไปหากมี Digital Footprint เยอะ ๆ และได้รับความนิยมอาจจะทำให้มีความเป็นส่วนตัวน้อยลงมากยิ่งขึ้น
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่เป็น Digital Footprint โดยไม่ได้รับความยินยอมอย่างเหมาะสมอาจละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่พอใจและสูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจ
Digital Footprint ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ และถูกแชร์ออกไป หากเป็นเนื้อหาที่มีความเสี่ยงอาจจะโดนกระแสตีกลับที่แรกและน่ากลัวจนทำให้ตัวธุรกิจหรือตัวบุคคลเสียหายได้
หากลูกค้ารู้สึกว่าถูกติดตามหรือข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาถูกใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจและเลือกที่จะย้ายไปใช้บริการของคู่แข่ง
หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่า Digital Footprint คืออะไร และ Digital Footprint มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ในหัวข้อนี้เราจะมาศึกษาถึงแนวทางที่ช่วยจัดการ Digital Footprint ได้อย่างมีประสิทธิภาพกัน
การจัดการ Digital Footprint ให้มีประสิทธิภาพ เริ่มต้นด้วยการ
สรุปสั้น ๆ Digital Footprint คือ ร่องรอยการใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งส่งกระทบต่อความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานโดยตรง ดังนั้น ผู้ใช้งานจึงควรตระหนักถึงข้อควรระวังนี้เสมอในขณะที่ท่องโลกออนไลน์ และจัดการกับ Digital Footprint ของตนให้มีประสิทธิภาพ
เริ่มต้นรักษาความปลอดภัยให้และความเป็นส่วนตัวให้กับองค์กรของคุณ พร้อมทำงานร่วมกับ Data Engineer ที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์กับ Data Wow ได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560