จากการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ กฎหมาย PDPA ทำให้องค์กรและบุคคลหันมาสนใจกับการรักษาความปลอดภัยข้อมูลกันมากขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ข้อมูลอ่อนไหว’ หรือ ‘Sensitive Data’ ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูล หากมีการเปิดเผยไปโดยไม่ได้รับความยินยอมอาจส่งผลต่อชื่อเสียงและการสูญเสียทรัพย์สิน และถ้าองค์กรมีการจัดการข้อมูลอ่อนไหวที่ไม่รัดกุม อาจทำให้ข้อมูลมีความเสี่ยงจากการโจรกรรม และนำไปสู่การลงโทษทางกฎหมาย
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ องค์กรและบุคคลควรศึกษาว่า Sensitive Data คืออะไร มีอะไรบ้าง เพื่อจัดการกับ Sensitive Data ได้อย่างรอบคอบ
ข้อมูลอ่อนไหว หรือ Sensitive Data คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญสูงและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลหากถูกเปิดเผยหรือใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อมูลประเภทนี้ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษตามกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ของประเทศไทย และ GDPR (General Data Protection Regulation) ของสหภาพยุโรป ทำให้ Sensitive Data แตกต่างจากข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (Personal Data) เนื่องจากมีความอ่อนไหวสูงกว่าและสามารถนำไปใช้ในทางที่ผิดได้ง่าย เช่น การเลือกปฏิบัติ การฉ้อโกง หรือการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เป็นต้น
อย่างที่เราทราบว่า Sensitive Data คือ ข้อมูลอ่อนไหวที่ต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าใจข้อมูลอ่อนไหวกันมากขึ้น ในหัวข้อนี้เราจะมาดูกันว่าข้อมูล Sensitive PDPA Data มีอะไรบ้าง
ข้อมูลสุขภาพ: ประวัติการรักษา โรคประจำตัว ประกันสุขภาพ
ข้อมูลชีวภาพ: ลายนิ้วมือ ม่านตา ข้อมูล DNA
ข้อมูลทางเชื้อชาติและศาสนา: ชาติพันธุ์ ความเชื่อทางศาสนา หรือปรัชญาทางการเมือง
ข้อมูลทางเพศและรสนิยมทางเพศ
ข้อมูลทางกฎหมาย: ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลเกี่ยวกับข้อพิพาททางกฎหมาย
ถึงแม้ว่า Sensitive Data และ Personal Data จะอยู่ภายใต้หมวดหมู่ของข้อมูลส่วนบุคคล แต่ก็มีความแตกต่างกันดังนี้
Personal Data และ Sensitive Data มีความแตกต่างกันตรงที่ Sensitive Data คือ ข้อมูลที่ต้องได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษ ภายใต้ข้อกำหนดของ PDPA ซึ่งกำหนดให้ต้องมี มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดกว่า Personal Data เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การขอความยินยอมที่ชัดเจน และการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
นอกจากนี้ ข้อมูลอ่อนไหวยังต้องได้รับการเก็บรักษาตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยองค์กรต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของ PDPA เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูลและโทษทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้น
องค์กรที่จัดเก็บข้อมูลอ่อนไหวต้องปฏิบัติตามแนวทางที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงและโทษทางกฎหมาย โดยมีสิ่งที่ควรระวังดังนี้
ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล: ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานแสดงว่าผู้ใช้ให้ความยินยอมอย่างชัดเจน
มีการใช้การเข้ารหัสข้อมูล (Data Encryption): ลดความเสี่ยงของการถูกโจมตีทางไซเบอร์
ต้องมีการจำกัดการเข้าถึง (Access Control): ให้เฉพาะบุคลากรที่เกี่ยวข้องเท่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
จัดเก็บข้อมูลตามแนวทาง Data Minimization: ควรเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น
มีมาตรการสำรองข้อมูล (Backup & Disaster Recovery): เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ตรวจสอบการใช้ข้อมูล (Data Usage Monitoring): ใช้ระบบตรวจสอบและบันทึกการเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหว
กำหนดนโยบายความปลอดภัยภายในองค์กร: สร้างมาตรฐานในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ PDPA
แนะนำแนวทางป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์: Cyber Security
สรุปสั้น ๆ ได้ว่า Sensitive Personal Data คือ ข้อมูลที่ต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความอ่อนไหวและอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลหากถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด PDPA กำหนดให้องค์กรที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลประเภทนี้ต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด เช่น การเข้ารหัสข้อมูล การควบคุมการเข้าถึง และการจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสม
องค์กรที่ปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องข้อมูลของลูกค้า แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและลดความเสี่ยงด้านกฎหมายในระยะยาวอีกด้วย
เริ่มต้นรักษาความปลอดภัยของข้อมูล พร้อมใช้งานข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วย PDPA Services จาก Data Wow ที่ให้บริการโดยทีมนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญ ช่วยให้คำปรึกษา จัดการ และตรวจสอบข้อมูลให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ เรายังมีคอร์สจัดอบรมเรื่อง PDPA ให้กับบุคลากรภายในองค์กร เพื่อสร้างความตระหนักรู้ภายใต้กฎหมาย PDPA และปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง
ก้าวสู่การเป็นผู้นำทางธุรกิจกับ Data Wow ได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560