Google Cloud Platform (GCP) คืออะไร ทำไมถึงจำเป็นกับทุกองค์กร

Jul 2, 2024
Google Cloud Platform (GCP) คืออะไร ทำไมถึงจำเป็นกับทุกองค์กร

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความต้องการของธุรกิจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้องค์กรต้องปรับตัวและหาโซลูชันที่ทันสมัย เพื่อรองรับการเติบโตและการแข่งขันกับคู่แข่งทางการตลาด จึงมีการนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มธุรกิจต่าง ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจมากขึ้น บริการทางการตลาดอย่าง “Google Cloud Platform” หรือ “GCP” จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ

แล้ว GCP เหมาะสมกับธุรกิจของคุณหรือไม่? GCP คืออะไร? มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร? มาไขข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันเลย

Google Cloud Platform (GCP) คืออะไร

GCP ย่อมาจาก

GCP ย่อมาจาก Google Cloud Platform โดย GCP คือ บริการ Cloud Server จาก Google ที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี เช่น Google Drive Google Map และ Google Search engine เป็นต้น ซึ่ง GCP เหล่านี้ให้บริการในลักษณะที่ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดไฟล์ไปเก็บไว้บน Web Server ที่เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ แทนการจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์เหมือนแบบเก่า

นอกจากนี้ GCP ยังมีบริการแยกย่อยในด้านอื่น ๆ เช่น Storage & Databases, Big Data, Compute Engine, API Platform and Ecosystems, Identity & Security, Machine Learning และอื่น ๆ ที่โดดเด่นด้านการทำร่วมด้วยกันได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมมีระบบรักษาความปลอดภัย (Cyber Security) ในระดับมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

บริการจาก Google Cloud Platform (GCP) ที่น่าสนใจ

gcp training คือ

Networking

Networking เป็นบริการที่สำคัญต่อการจัดการเครือข่ายของ Cloud ที่ใช้ภายในองค์กร หากองค์ที่เพิ่งก่อตั้งและยังไม่มั่นใจเรื่อง Network ก็สามารถเลือกใช้บริการด้านนี้จาก GCP เพื่อลดความซับซ้อนและลดเวลาในการวางระบบได้ เช่น Cloud CND, Cloud DNS, Virtual Private Cloud หรือ VPC เป็นต้น

Storage

Storage เป็นบริการที่ช่วยจัดเก็บข้อมูล โดยแต่ละแพลตฟอร์มแตกต่างกันในด้านความต้องการ ขนาดข้อมูล และการกำหนดสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล คล้ายกับ Google Drive และ Dropbox แต่รองรับการทำงานที่เน้นรายละเอียดและฟีเจอร์ที่คลอบคลุมกว่า เช่น Cloud Storage และ Cloud Filestore เป็นต้น

Databases

Database เป็นบริการสำหรับจัดการฐานข้อมูล ซึ่งมีทั้งแบบ SQL และ NoSQL ให้เลือกใช้ เช่น Cloud SQL, Cloud Spanner และ Cloud Firestore เป็นต้น

Analytics

Analytics เป็นบริการที่สำคัญและได้รับความนิยมในการทำธุรกิจ เนื่องจากบริการ Analytics ของ GPC เรียกได้ว่ามีครบทุกกระบวนการไม่ว่าจะเป็น การนำเข้าข้อมูล (Data Ingest), การประมวลผลข้อมูล (Data Processing), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyze) และ การสรุปข้อมูล (Consume) เช่น BigQuery, Cloud Dataflow, Cloud Datalab เป็นต้น

Identity & Security

Identity & Security เป็น Tools ที่ช่วยจัดการเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เพื่อกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล และสิทธิ์ในการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ของ GCP

Compute

Compute เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่องค์กรที่ต้องใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ โดยที่องค์กรไม่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์เอง ซึ่งบริการเช่าเซิร์ฟเวอร์นี้ยังช่วยลดต้นทุนให้แก่องค์กรอีกด้วย เช่น Compute Engine, Cloud Functions และ App Engine เป็นต้น

ข้อดีของ Google Cloud Platform (GCP) ต่อองค์กร

หลังจากที่เราทราบกันแล้วว่าเจ้า GCP คืออะไร และมีบริการอะไรที่น่าสนใจบ้าง ในหัวข้อนี้เราจะมาตอบกันว่าทำไม GCP ถึงจำเป็นกับทุกองค์กร? จาก 5 ข้อดีเหล่านี้

1. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงและแก้ไขข้อมูล

ข้อดีข้อแรกของ GCP คือ สามารถแก้ไขเอกสารหรืองานนำเสนอต่าง ๆ ร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ บนเอกสารดิจิทัลอย่าง Docs, Sheets และ Slides หรือไฟล์งานที่สร้างบน G Suite แม้ไม่ได้ทำงานที่เดียวกัน สามารถจำกัดการเข้าถึงเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ช่วยลดทรัพยากรและต้นทุนจากการใช้เอกสารกระดาษที่สิ้นเปลือง และยังรองรับการใช้งานจากรองรับ Device แทบทุกชนิด

2. ตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบัน

จากข้อดีข้อแรกของ GCP ที่ทำให้บุคลากรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ทุกเวลา และสามารถทำงานร่วมกับกับแผนกอื่น ๆ ได้แบบเรียลไทม์เพียงแค่เชื่อมอินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อดีเหล่านี้ตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบัน ที่มีการทำงานแบบ Work from Home มากขึ้น อีกทั้งยังมี GCP อย่าง Google Hangouts ที่สามารถแชร์ไฟล์งาน บันทึกการสนทนา และจัดประชุมแบบออนไลน์พร้อมกันโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง โดยซิงค์กับ Google Calendar ได้อีกด้วย

3. มีระบบรักษาความปลอดภัยได้มาตรฐาน

ข้อดีข้อถัดไปของ GCP คือ มีความปลอดภัยสูง ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย และการสำรองข้อมูลอย่างต่อเนื่อง องค์กรสามารถกำหนดได้ว่าบุคคลใดมีสิทธิ์เข้าถึง แก้ไข หรือทำลายข้อมูลได้ จึงช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์และการละเมิดข้อมูล (Data Breach) จากผู้ไม่ประสงค์ดี

4. ปรับขนาดได้ตามความต้องการ

อีกข้อดีของ GCP คือ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขนาดได้ตามต้องการ ซึ่งตอบโจทย์ตั้งแต่องค์ขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ หากธุรกิจมีการเติบโตมากขึ้นก็ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้บริการมากขึ้นเช่นกัน โดยองค์กรสามารถเพิ่ม-ลดขนาดทรัพยากรได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเสียเวลากับการอัปเกรดระบบเอง

นื่องจากเป็น Cloud ที่มีทรัพยากรเพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) GCP จึงมีฟีเจอร์ที่รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Analytics) เช่น BigQuery, Dataflow และ DataLab ที่ช่วยประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

5. ประหยัดต้นทุน

สำหรับองค์เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น อาจไม่มีความจำเป็นในการใช้ทรัพยากรและพื้นที่จัดเก็บจำนวนมหาศาล หากใช้บริการ Cloud ที่มีแพ็กเกจแบบเหมาจ่าย ก็อาจเป็นการเสียเงินทุนมากเกินความจำเป็น แต่บริการจาก GCP จะคิดค่าบริการตามทรัพยากรและโซลูชันที่เลือกใช้ ทำให้องค์กรประหยัดต้นทุน สามารถกำหนดงบประมาณได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ การใช้ GCP ยังช่วยลดต้นทุนด้านการจ้างบุคลากรมาดูแลระบบ และลดต้นทุนจากการบำรุงรักษาอุปกรณ์

ข้อจำกัดของ Google Cloud Platform (GCP)

ถึงแม้ว่า GCP คือแพลตฟอร์มที่ข้อดีมากมาย แต่ก็ยังมีช่องโหว่ในการใช้งาน ที่องค์กรควรระมัดระวัง ดังนี้

1. ต้องใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตเท่านั้น

ข้อจำกัดข้อแรกของ GCP คือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่ทำให้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ, ถูกแฮคระบบสื่อสารและอินเทอร์เน็ต หรือการค้างชำระค่าบริการ ถึงแม้จะเกิดขึ้นได้ยากแต่ก็เป็นเรื่องที่คาดการณ์ไม่ได้ ดังนั้นองค์กรควรเตรียมแผนการรับมือ ด้วยการสำรองข้อมูลไว้ในพื้นที่ส่วนตัว หากเกิดกรณีที่ไม่สามารถอินเทอร์เน็ตได้

2. อาจเกิดช่องโหว่จากการจัดการระบบ

ข้อจำกัดข้อที่สามของ GCP คือ ช่องโหว่อาจเกิดขึ้นจากการจัดการระบบ เนื่องจากการใช้งาน GCP ในองค์กร บุคลากรจะได้รับสิทธิ์ในการใช้งานร่วมกัน ซึ่งอาจมีช่องโหว่หากจัดการระบบและกำหนดสิทธิ์เข้าถึงไม่รัดกุมมากพอ ทำให้เกิดการนำข้อมูลส่วนตัวหรือสิทธิ์ของบุคลากรไปใช้ในทางที่ผิด และเข้าถึงข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้รับการอนุญาต

3. มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

ข้อจำกัดข้อสุดท้ายของ GCP คือ มีความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ เนื่องจากการนำข้อมูลขององค์กรมาฝากไว้กับบริการ GCP ซึ่งเปรียบเสมือนบุคคลที่ 3 ถึงแม้ระบบ Cloud จะมีความปลอดภัยในระดับมาตรฐาน แต่หากระบบมีปัญหาหรือเกิดการโจรกรรมก็อาจทำให้ข้อมูลเหล่านั้นสูญหายได้

สรุป Google Cloud Platform (GCP)

โดยสรุปแล้ว Google Cloud Platform หรือ GCP คือ โซลูชันคลาวด์ที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่นในด้านความยืดหยุ่น ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร GCP จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับองค์กรที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ หากคุณกำลังมองหาโซลูชันคลาวด์ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้ก้าวหน้า GCP คือตัวเลือกที่คุ้มค่าให้คุณพิจารณา

จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อนใช้บริการ GCP ได้อย่างชาญฉลาดกับ Data Wow เรามีบริการ Data Labeling ที่ช่วยให้คุณสามารถการจำแนกข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำแนกข้อความตามหมวดหมู่ต่าง ๆ สร้างเสียงจากข้อความและแปลงคำพูดให้เป็นข้อความ ระบุและติดแท็กชื่อวัตถุต่าง ๆ ในรูปภาพหรือวิดีโอ ทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน และสามารถจัดเก็บได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และการเรียนรู้ของ Machine Learning ได้อีกด้วย ปรึกษาเราได้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560

CONTACT US

ติดต่อเรา

!
!
!
!
!
!
!
logo
ที่ตั้งบริษัท
7 อาคารซัมเมอร์ พอยท์ ชั้นที่ 2
ซอยสุขุมวิท 69 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย
ติดตามเรา
ISO27001
ISO27701