‘ลูกค้าคือพระเจ้า’ คนทำธุรกิจคงรู้จักประโยคนี้กันดีและหลายคนก็คงเห็นด้วย เพราะลูกค้าคือผู้ที่สร้างรายได้ให้กับธุรกิจ เจ้าของธุรกิจต่างคาดหวังว่าลูกค้าจะเกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการจนกลับมาซื้ออีกครั้ง และกลายเป็นลูกค้าประจำที่มีความเชื่อมั่นในแบรนด์ในที่สุด ดังนั้น การที่ธุรกิจสามารถจับจุดได้ว่าลูกค้ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อสินค้าและบริการจึงเป็นสิ่งสำคัญ จึงได้มีการพัฒนาระบบ AI ที่เรียกว่า ‘Sentiment Analysis’ เข้ามาช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าจากข้อความต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ นำไปสู่การปรับปรุงสินค้าและบริการให้ตรงใจมากขึ้น
วันนี้เราจะพาคุณมาเจาะลึกกันว่า Sentiment Analysis คืออะไร? มีกี่ประเภท? และมีประโยชน์อย่างไร เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญและวิธีการนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
Sentiment Analysis คือ ระบบ AI ที่ใช้ในการวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้า จากข้อความที่ลูกค้าเขียนผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น รีวิวสินค้า คอมเมนต์ในโซเชียลมีเดีย การแชทกับ Chatbot อีเมล หรือข้อความเสียง เพื่อให้เข้าใจว่าลูกค้ามีความรู้สึกอย่างไรกับแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น เชิงบวก เชิงลบ หรือความรู้สึกเป็นกลาง รวมไปถึงการวิเคราะห์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ความสุข ความโกรธ ความเศร้า หรือความรัก เป็นต้น
โดยระบบจะใช้เทคนิคทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Natural Language Processing) และ Machine Learning มาช่วยในการแยกแยะอารมณ์และความรู้สึกจากข้อความ ทำให้สามารถจัดกลุ่มและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากเสียงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
การทำ Sentiment Analysis คือ การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้
Fine-grained Sentiment Analysis คือ การวิเคราะห์ความรู้สึกในระดับที่มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น การวิเคราะห์คะแนนรีวิวสินค้าออนไลน์ที่มีการให้คะแนนตั้งแต่ 1 ถึง 5 ดาว ซึ่งการให้คะแนน 5 อาจจะหมายถึงเชิงบวกมาก และ 1 ดาวอาจหมายถึงเชิงลบมาก ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความรู้สึกของลูกค้าได้ในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
Aspect-based Sentiment Analysis คือ การวิเคราะห์ว่าผู้เขียนมีความคิดเห็นในแง่มุมเฉพาะของสินค้า บริการ หรือประสบการณ์ อย่างไรบ้าง เช่น การแยกแยะความเห็นเกี่ยวกับ ‘คุณภาพของสินค้า’ และ ‘การบริการหลังการขาย’ จากข้อความเดียวกัน เช่น “สินค้าดีมาก แต่ส่งช้ามาก” ในกรณีนี้ ระบบจะสามารถจำแนกความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับสินค้า และความคิดเห็นเชิงลบเกี่ยวกับการบริการแยกจากกันได้อย่างชัดเจน
Emotion Detection Analysis คือ การวิเคราะห์อารมณ์ที่แสดงออกมาผ่านข้อความ นอกเหนือจากเชิงบวก หรือเชิงลบ เช่น มีความสุข ไม่พอใจ ตกใจ โกรธ หรือเสียใจ ซึ่งอาจวัดได้ 6-8 ระดับ ตามทฤษฎีจิตวิทยาและโมเดลอารมณ์
Multilingual Sentiment Analysis คือ การวิเคราะห์ความรู้สึกในหลายภาษา ซึ่งจะมีความซับซ้อนมากกว่าประเภทอื่น ๆ เนื่องจากต้องใช้ทรัพยากจำนวนมาก อาจจะต้องสร้างข้อมูลบางอย่างขึ้นมาเองเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำ ผู้ใช้งานจึงต้องมีทักษะในด้านการเขียนโค้ดเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรเหล่านั้น ช่วยให้องค์กรสามารถรวบรวมความคิดเห็นจากฐานลูกค้าที่หลากหลาย และแปลงข้อมูลเป็นข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ Sentiment Analysis ในธุรกิจ สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายภาคส่วน ตัวอย่างการใช้งานหลัก ๆ ได้แก่
ประโยชน์ข้อแรกของ Sentiment Analysis คือ ช่วยให้ธุรกิจสามารถนำความคิดเห็นที่ได้ ไม่ว่าจะทั้งเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง มาวิเคราะห์ว่าลูกค้าชื่นชอบสินค้าและบริการที่ได้รับหรือไม่ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น
ความสามารถในการวิเคราะห์ความคิดเห็นลูกค้าในเชิงลึก ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าใจความรู้สึกของลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ความคาดหวัง ความพอใจ หรือปัญหาที่เกิดขึ้น การใช้ Sentiment Analysis เพื่อวัดความรู้สึกเหล่านี้ ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับการสื่อสารและการบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และการสร้าง Customer Journey ที่ดีขึ้น
ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จาก Sentiment Analysis คือตัวช่วยสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหารหรือทีมการตลาด เมื่อมีการออกสินค้าใหม่ หรือแคมเปญการตลาดใหม่ ๆ แบรนด์จะสามารถประเมินผลตอบรับ และทำการปรับปรุงกลยุทธ์ได้ทันทีหลังจากรับรู้อารมณ์ของลูกค้า
ในยุคโซเชียลมีเดีย ความคิดเห็นของลูกค้าสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การทำ Sentiment Analysis จะช่วยให้แบรนด์สามารถตรวจสอบความคิดเห็นในเชิงลบ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเหล่านั้น และทำให้ลูกค้าเห็นว่าแบรนด์มีความใส่ใจต่อเสียงของผู้บริโภค
ร้านกาแฟที่มีสาขามากมายทั่วโลกอย่าง Starbucks เอง ก็ใช้ Sentiment Analysis ในการวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้า เพื่อปรับปรุงการบริการ รสชาติเครื่องดื่ม และขนม ให้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด ซึ่งมีส่วนช่วยให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจมากขึ้น และสร้างประสบการณ์ที่ดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์
แพลตฟอร์มให้บริการด้านขนส่งอย่าง Grab ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของลูกค้าเป็นอย่างมาก ทุกการใช้บริการไม่ว่าจะเป็น Grab Food, Grab Transport หรือ Grab Express จะมีการให้คะแนนหลังบริการ เพื่อประเมินความพึงพอใจของลูกค้า และนำข้อมูลไปพัฒนาฟีเจอร์และบริการต่าง ๆ
โดยสรุปแล้ว Sentiment Analysis คือ ระบบ AI ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้า โดยใช้เทคนิคทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์และ Machine Learning เพื่อให้ธุรกิจเข้าใจความต้องการของลูกค้าและนำไปพัฒนาสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงใจมากขึ้น หากธุรกิจใดสามารถนำ Sentiment Analysis มาใช้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจและพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าได้อย่างยั่งยืน
Data Wow เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือ AI ทันสมัย ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้เรายังเชี่ยวชาญด้านการแบ่ง Segment ตามพฤติกรรมลูกค้า และนำ AI Solutions เข้ามาช่วยในการทำ Personalized Recommendation, Sales Forecasting, Demand Forecasting, Inventory Management, Lead Scoring, Forecast และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนแคมเปญได้อย่างมืออาชีพ ปรึกษา Data Wow ได้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560