แนะนำ Tool การทำ Dashboard ที่จะช่วยให้รีพอร์ตของคุณดูดีมากกว่าเดิม

แนะนำ Tool การทำ Dashboard ที่จะช่วยให้รีพอร์ตของคุณดูดีมากกว่าเดิม

การทำธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะใช้ประสบการณ์ที่มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่จำเป็นต้องพึ่งพาหลักฐานหรือข้อมูลทางสถิติเพื่อใช้คาดการณ์ วางแผน และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างเฉียบขาด โดยในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่เข้ามาช่วยให้การดึงข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงานผล สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยที่นักการตลาดไม่ต้องเสียเวลาไปกับการประมวลข้อมูลจำนวนมหาศาล ซึ่งการทำ Dashboard เป็นวิธีที่นักการตลาดหรือบุคลากรทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ จึงได้รอบความนิยมอย่างแพร่หลายในแวดวงธุรกิจนั่นเอง

บทความนี้เราจะมาแนะนำ 7 เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Dashboard ที่ช่วยให้การทำรีพอร์ตของคุณสะดวก รวดเร็ว และดูดีกว่าเดิม!

Dashboard คืออะไร

ก่อนที่เราจะแนะนำเครื่องมือสำหรับการทำ Dashboard เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า Dashboard คืออะไร

Dashboard คือ หนึ่งในรูปแบบการนำเสนอข้อมูลแบบ Data Visualization หรือที่เราเรียกกันว่าการทำข้อมูลให้เป็นภาพ โดยใช้เครื่องมือ Business Intelligence มาช่วยสร้างรายงาน (Report) เพื่อประมวลผลและสรุปข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้อยู่ในหน้าจอเดียว ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจข้อมูลได้ทันที และนำข้อมูลมาต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด

วิธีการทำ Dashboard สามารถทำได้อย่างไร

ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีเครื่องมือสร้าง Data Visualization ให้อยู่ในรูปแบบ Dashboard มากมาย ซึ่งทุกเครื่องมือจะมีวิธีการทำ Dashboard ที่คล้าย ๆ กัน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของแหล่งข้อมูล, ฟีเจอร์, เทมเพลต และรูปแบบการแสดงผล ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะข้อมูลที่เราต้องการประมวลผล ดังนั้น ก่อนทำที่จะเริ่มต้นการทำ Dashboard ผู้ใช้งานควรศึกษาฟีเจอร์ และวิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างละเอียด หรืออาจจะศึกษาเพิ่มเติมด้วยการเรียนคอร์สสอนทํา Dashboard เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนะนำ 7 เครื่องมือน่าสนใจสำหรับการทำ Dashboard

1. Tableau

การทํา dashboard google sheet ขอบคุณรูปจาก: tableau.com

Tableau เป็นโปรแกรมทํา Dashboard ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เพราะผู้ใช้งานที่ไม่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคก็สามารถเรียนรู้วิธีการทำ Dashboard ของ Tableau ได้ เพราะสามารถดึงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาแสดงผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเทมเพลตและรูปแบบแดชบอร์ดจำนวนมากให้ผู้ใช้เลือกสรรได้ตามความเหมาะสม สามารถใช้งานได้ตั้งแต่การทำ Data ขั้นเริ่มต้นไปจนถึงระดับสูง (Advanced) และรองรับการทำงานทั้งบน MacOS และ Windows

2. Looker Studio

สอนทํา dashboard ขอบคุณรูปจาก: windsor.ai

Looker Studio หรือ Google Data Studio เป็นเครื่องมือทํา Dashboard จาก Google ที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย สามารถใช้งานได้ฟรี และเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, X หรือ Youtube มาประมวลผลและแสดงผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย มีเทมเพลตที่สร้างไว้ให้ผู้ใช้งานอยู่แล้ว จึงประหยัดเวลาและทำงานได้อย่างราบรื่น สามารถดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปได้เร็วขึ้น และยังสามารถเชื่อมต่อกับ Live Data ได้อีกด้วย

3. Microsoft Power BI

การทํา dashboard power bi ขอบคุณรูปจาก: microsoft.com

Microsoft Power BI เป็นเครื่องมือที่สร้างขึ้นโดย Microsoft มีความโดดเด่นในด้านของการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลในองค์กร, แพลตฟอร์มต่าง ๆ , แฟ้ม Excel และบริการคลาวด์ ทำให้มีข้อมูลทํา Dashboard จากหลายแหล่ง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและอัปเดตรายงาน Dashboard ได้อย่างอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ อีกทั้งยังมีรูปแบบเทมเพลตที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ และเข้าใจได้ง่าย รองรับการใช้งานได้บนหลายอุปกรณ์ ยกเว้นการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ระบบ MacOS

4. Zoho Analytics

การทํา dashboard excel ขอบคุณรูปจาก: zoho.com

Zoho Analytics เป็นซอฟต์แวร์การทำการทำ Dashboard ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานมองเห็นและเข้าใจข้อมูลเชิงลึกได้ง่ายขึ้นโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที ถึงแม้ว่า Zoho Analytics จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีฟีเจอร์ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก นั่นคือ Auto Generate ที่ออกแบบ Dashboard ด้วย AI ให้เหมาะสมกับรูปแบบของข้อมูลนั้น ๆ และยังสามารถเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลได้หลากหลาย รองรับฐานข้อมูลจำนวนมากได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญก็สามารถใช้งานได้

5. Endlessloop

โปรแกรมทํา dashboard ขอบคุณรูปจาก hegrowthmaster.com

Endlessloop เป็นเครื่องมือในการทำ Dashboard ที่นำแนวคิดแบบ Growth ที่ครอบคลุมการเติบโตของธุรกิจมาใช้ในการพัฒนา เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจและกลับมาใช้บริการซ้ำ โดยมีความโดดเด่นในเรื่องขอการนำเสนอในรูปแบบ Loop ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตั้งค่า Loop แต่ละ Persona ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้ โดยรวบรวมข้อมูลจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ นำมาประมวลผลเพื่อแสดงผลลัพธ์ตาม Metric ที่ตั้งค่าไว้ และยังสามารถย้อนดูรายงานเก่า ๆ เพื่อทำการเปรียบเทียบได้อีกด้วย

6. FineReport

วิธีทํา dashboard ขอบคุณรูปจาก finereport.com

FineReport เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการทำ Dashboard ที่ออกแบบโดยใช้แนวคิด No-Code Development เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถใช้งานได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ Drag-and-Drop ข้อมูลก็จะได้ Dashboard ที่มีความสวยงาม เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเฉียบคม โดยสามารถใช้งานในรูปแบบ Personal Version ได้ฟรี

7. Databox

ข้อมูลทํา dashboard ขอบคุณรูปจาก: databox.com

Databox เป็นเครื่องมือ Data Visualization ที่สามารถดึงข้อมูลทํา Dashboard จากแหล่งต่าง ๆ ได้มากถึง 70 แหล่ง โดยมีวิธีการทํา Dashboard ง่าย ๆ เพียงแค่ Drag-and-Drop ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยจะแสดง Performance ที่เกิดขึ้นทั้งหมด และกำหนด KPIs เพื่อติดตามผลความคืบหน้า และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบได้ทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ทำผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเห็นภาพรวมในการทำธุรกิจ สามารถวางแผน แก้ไข และพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดีของการทำ Dashboard

1. เข้าใจข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน

แน่นอนว่าข้อดีข้อแรกของการทำ Dashboard คือ ช่วยให้บุคลากรในองค์กรเข้าใจข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและเข้าใจข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน เพราะการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบสถิติและกราฟิกที่มีความสวยงาม สรุปข้อมูลที่สำคัญมาในรูปแบบที่ไม่ซับซ้อน ช่วยให้บุคลากรสามารถมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์

2. ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของข้อมูล

การทำ Dashboard ช่วยแปลงข้อมูลที่ซับซ้อนให้เป็นภาพที่มีความน่าสนใจ หากนำเสนอข้อมูลในรูปแบบทั่วไปโดยไม่มี Dashboard ที่แสดงภาพประกอบ ไม่มีกราฟที่แสดงผลให้เห็นภาพง่ายขึ้น ไม่มีสีสันที่ช่วยแยกประเภทข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ ก็อาจทำให้บุคลากรต้องใช้เวลาในการตีความข้อมูลที่มีความซับซ้อน และอาจเกิดความผิดพลาดจากการตีความข้อมูลตามมา

3. ตัดสินใจได้อย่างเฉียบคม

อย่างที่เราทราบกันดีว่าการทำ Dashboard ช่วยให้เกิดการเข้าใจตรงกัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ข้อมูลที่มีความแม่นยำเหล่านั้นมาวางแผน ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น ขับเคลื่อนองค์กรด้วยแนวคิด Data-Driven ได้อย่างแท้จริง

4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน

การมีข้อมูลที่แม่นยำ แสดงผลให้บุคลากรทุกคนเข้าใจตรงกัน ล้วนเป็นข้อดีของการทำ Dashboards ที่สนับสนุนให้การทำงานร่วมกันในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีการใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือจากแหล่งเดียวกัน ทำให้การดำเนินธุรกิจมีความโปร่งใส และตอบโจทย์การทำงานในยุค Digital Transformation

เริ่มต้นทำ Dashboard เพื่อธุรกิจของคุณ

หากคุณอยากเริ่มทำ Dashboard แต่ยังไม่รู้จะจัดการข้อมูลที่มีอยู่ยังไงดี? ที่ Data Wow เรารับทำ Data Visualization แบบ End-to-End ตั้งแต่เตรียมข้อมูลให้พร้อมใช้ ขึ้น Dashboard & Visualization ให้ สามารถทำบน tools ที่ใช้งานอยู่แล้ว (เช่น Looker, Data Studio, Power BI) หรือ customize 100% บน Web/App Platform ช่วยให้คุณก้าวสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ชาญฉลาดกับเราได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560 เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้ข้อมูลและคำปรึกษา และบริการหลังการขายที่พร้อมดูแลคุณอย่างเต็มที่

ติดต่อเรา

ชื่อ*

ชื่อบริษัท*

ชื่อตำแหน่ง

เบอร์โทรศัพท์*

อีเมล*

ข้อความ

ฉันต้องการรับโปรโมชันและข่าวสารทางการตลาดเกี่ยวกับ Data Wow และบริการอื่น ๆ จากเรา บริษัทในเครือ บริษัทย่อยและพันธมิตรทางธุรกิจ ​(คุณสามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ)
ผลิตภัณฑ์ของเรา
ที่ตั้งบริษัท

1778 อาคารซัมเมอร์ฮับ ออฟฟิศ, ชั้น 6
ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กรุงเทพมหานคร 10110
ประเทศไทย

ติดตามเรา
ISO ISMISO PIM