Data Breach การละเมิดข้อมูล พร้อมวิธีปกป้องข้อมูลสำคัญของคุณ

Data Breach การละเมิดข้อมูล พร้อมวิธีปกป้องข้อมูลสำคัญของคุณ

ผู้คนนับล้านได้รับผลกระทบจากการละเมิดข้อมูล (Data Breach) ทุกปี ซึ่งการละเมิดข้อมูลก่อให้เกิดความเสียหายทั้งในเรื่องของความเป็นส่วนตัว ทรัพย์สิน และชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรหรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเรียนรู้และทำความเข้าใจ Data Breach เพื่อเป็นแนวทางในการใช้งานระบบต่าง ๆ และสามารถปกป้องข้อมูลสำคัญไม่ให้รั่วไหล

ก่อนที่จะศึกษาวิธีป้องกันข้อมูลสำคัญ เรามาศึกษาเจาะลึกถึงความหมายและสาเหตุของการเกิด Data Breach เพื่อสร้างความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นไปพร้อมกัน

ทำความรู้จัก ​​Data Breach คืออะไร

“การละเมิดข้อมูล” หรือ Data Breach คือ การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนโดยการไม่ได้รับอนุญาต เกิดขึ้นจากการโจรกรรมข้อมูล สร้างความเสียหายแก่บุคคล ทรัพย์สิน และความมั่นคงขององค์กร อาจเกิดขึ้นจากองค์กรที่มีระบบความปลอดภัยต่ำ ไม่มีการอัปเดตฐานข้อมูล จึงส่งผลให้เกิดการเจาะรหัสเข้าฐานข้อมูล และดึงข้อมูลไปขายต่อให้กับผู้ที่ได้ประโยชน์นั่นเอง

Data Breach เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

อย่างที่ทราบกันดีว่า Data Breach ถือเป็นอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cybercrime) โดยมีเป้าหมายตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ไปจนถึงบุคคลธรรมดา ซึ่งสิ่งที่ผู้โจรกรรมข้อมูล (Attacker) ต้องการนั่นคือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (Personally Identifiable Information) เช่น หน้าบัตรประจำตัวประชาชน, หมายเลขบัตรเครดิต, ข้อมูลการรักษาพยาบาล, ข้อมูลลูกค้า, ทรัพย์สินทางปัญญาหรืออื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อปลอมแปลงข้อมูลส่วนตัว, โจรกรรมทางการเงิน หรือนำข้อมูลไปขายต่อในเว็บมืด (Dark Web) ซึ่งรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งแบบสุ่มและเจาะจง โดย Data Breach อาจมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1.ระบบความปลอดภัยต่ำ (Weak Security)

Data Breach คือ

หากไม่มีการตั้งค่ารหัสผ่าน เพื่อกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานกับคอมพิวเตอร์โดยตรง ก็อาจจะเป็นช่องว่างให้เกิด Data Breach ได้ เมื่อแฮกเกอร์พบช่องโหว่นี้ ก็จะสามารถแทรกมัลแวร์ (Malware) มายังคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ เพื่อบันทึกการกดแป้นพิมพ์ บันทึกข้อมูลละเอียดอ่อน และส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ควบคุมโดยผู้โจรกรรม

2.รหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา (Password Attack)

Data Breach แปลว่า

การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาง่าย อาจเป็นรหัสที่ตั้งจากข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะถูกสุ่มเพื่อเข้ารหัส ก็อาจทำให้แฮกเกอร์สามารถคาดเดารหัสผ่านได้ในที่สุด อีกหนึ่งกรณีที่เกิดขึ้นนั่นคือ การจดรหัสผ่านไว้ในคอมพิวเตอร์หรือโน้ตต่าง ๆ เมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมด ก็อาจทำให้เกิดการโจรกรรมข้อมูลได้

ดังนั้นการตั้งรหัสผ่านจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อป้องกัน Data Breach จึงควรตั้งรหัสผ่านที่ซับซ้อน ไม่ซ้ำใคร เพื่อป้องกันการคาดเดา

3. การโจมตีทางวิศวกรรมสังคม (Social Engineering Attacks)

Phishing

การโจมตีทางวิศวกรรมสังคม คือ การบิดเบือนทางจิตวิทยาเพื่อหลอกให้เหยื่อส่งมอบข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือทำสิ่งที่ไม่ปลอดภัย เช่น ผู้โจมตีอาจปลอมตัวเป็นตัวแทนจากธนาคาร และโทรหาเหยื่อทางโทรศัพท์เพื่อพยายามโน้มน้าวให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคารของตน หรืออาจมีการฟิชชิ่ง (Phishing) ที่เป็นการโจมตีเพื่อโจรกรรมข้อมูลทางออนไลน์ เช่น หลอกล่อให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลส่วนตัวในหน้าเว็บไซต์หรือลิงก์ที่มีความหลอกลวง ก็เป็นหนึ่งในภัยคุกคามจาก Data Breach เช่นกัน

4. ภัยคุกคามจากภายใน (Insider Threats)

Personal Data Breach

การทำ Data Breach ในวิธีนี้ คือการที่ผู้เข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวจงใจโจรกรรมข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งมักจะเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานเสิร์ฟร้านอาหารที่คัดลอกหมายเลขบัตรเครดิตของลูกค้า ตลอดจนพนักงานระดับสูงของรัฐที่ขายความลับให้กับต่างประเทศ

5. การดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ (Drive-by Download)

data breach meaning

เกิดจากการดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ขาดความเชื่อถือ อาจมีการแทรกไวรัสหรือมัลแวร์ (Malware) ที่เป็นอันตรายกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ และก่อให้เกิด Data Breach ได้

6. อุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมย

คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟนที่สูญหายซึ่งมีข้อมูลที่เป็นความลับ อาจเป็นอันตรายได้หากตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่ประสงค์ดี

แนวทางการป้องกันข้อมูลจาก Data Breach

เนื่องจาก Data Breach มีหลายรูปแบบ จึงไม่มีวิธีแก้ปัญหาเดียวที่จะหยุดการละเมิดข้อมูลได้ จึงมีแนวทางป้องกันหลัก ๆ ที่สามารถทำได้จริง เช่น

1. เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล

ตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูล โดยการกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเพื่อป้องกันมิให้ผู้ประสงค์ร้าย สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และทำการโจมตีทางไซเบอร์ ใช้ระบบฐานข้อมูล (Data Warehouse) ที่มีประสิทธิภาพ และการถ่ายโอนข้อมูลที่มีความปลอดภัย

2. การตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม

ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดายาก มีความซับซ้อน โดยตั้งรหัสผ่านแต่ละบัญชีให้แตกต่างกัน หากจำรหัสผ่านไม่ได้ อาจมีการบันทึกรหัสผ่านในโน้ตต่าง ๆ ได้เช่นกัน

3. หลีกเลี่ยงการเข้า URL ที่ไม่ปลอดภัย

Data Breach ที่มาในรูปแบบของการฟิ่ชชิง (Phishing) ส่งลิ้งก์ที่เป็นสแปมหรือมีไวรัสเข้าสู่เมลของผู้ใช้ หากคลิกลิ้งก์นั้นอาจทำให้มีมัลแวร์แทรกเข้าสู่คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ จึงควรหลีกเลี่ยงการเข้าถึง URL ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ โดยเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยจะขึ้นต้นด้วย “HTTPS://” ใช้ระบบ SSL certificate หรือ “ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์” ที่ป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์สามารถถอดรหัสข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไปจะอยู่ในรูปแบบที่อ่านไม่ออก

4. เพิ่มความปลอดภัยของเครือข่าย

นอกเหนือความปลอดภัยของข้อมูลแล้ว องค์กรยังต้องปกป้องเครือข่ายภายใน ด้วยการใช้เทคโนโลยีความปลอดภัยของเครือข่าย เช่น Firewall ที่ตรวจสอบข้อมูลที่เข้า-ออกระบบเครือข่าย เพื่อป้องกันความปลอดภัย และการป้องกันข้อมูลสูญหายหรือการไหลรั่วของข้อมูล (Data Loss Prevention) ก็สามารถช่วยรักษาเครือข่ายให้ปลอดภัย และป้องกัน Data Breach ได้

องค์ประกอบของการป้องกัน Data Breach

บุคลากร

พนักงานในองค์กรต้องตระหนักถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ ช่วยกันรักษาความปลอดภัยในองค์กร เครือข่าย และเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงอบรมบุคลากรให้มีให้มีความรู้เรื่องการป้องกัน Data Breach

กระบวนการ

เพื่อไม่ให้เกิด Data Breach ทีมรักษาความปลอดภัยด้าน IT ควรพัฒนา Framework รักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง ติดตามและตรวจสอบโครงสร้างขององค์กรอยู่เสมอ

เทคโนโลยี

หลายองค์กรมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและระบบเครือข่าย เช่น การใช้ Firewall ในการตรวจสอบข้อมูลเข้า-ออกระหว่างเครือข่าย, การใช้หลักการ Zero trust เพื่อปกป้องไฟล์ อีเมล และตั้งค่าความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น

สรุป

ในปัจจุบันมีการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายตั้งแต่ระดับบุคคล (Personal Data Breach) ไปจนถึงระดับองค์กร หากเกิดข้อมูลรั่วไหล องค์กรไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) หรือปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน อาจเสี่ยงโดนฟ้องและต้องรับผิดทางกฎหมาย ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ไม่เปิดเผยข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้รับการยินยอม รู้เท่าทันผู้โจมตี ศึกษาแนวทางป้องกันและวางระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

อ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ได้ที่: องค์กรระวังโดนฟ้อง! เหตุทำข้อมูลรั่วไหล พร้อมทบทวนแนวปฏิบัติตาม PDPA

อยากจัดการระบบฐานข้อมูลให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย ใช้งานข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? สามารถทำงานร่วมกับ Data Engineer ที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์กับ Data Wow ได้วันนี้ที่ sales@datawow.io หรือโทร 02-024-5560